รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิ
หน่วยงาน :
คณะนิติศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
อาจารย์ชญานาภา ลมัยงวงษ์
มิติของโครงการ :
  • ด้านสิ่งแวดล้อม
  • แหล่งงบประมาณ :
    กรรมการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น/สำนักบริการวิชาการ
    รายละเอียดงบประมาณ :
    งบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.ผศ.ดร.อุลิช ดิษฐปราณีต
    2.อ.ชญานาภา ลมัยวงษ์



    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ ที่ 1 ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด ที่ 3 จำนวนชุมชน/เครือข่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าไปให้ความรู้และร่วมพัฒนาในด้านการบริการวิชาการ ตัวชี้วัด ที่ 4 โครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการ การแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตัวชี้วัด ที่ 6 จำนวนชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตตามศาสตร์พระราชา กลยุทธ์ ที่ 1 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสตร์ ที่ 3 ให้บริการวิชาการแก่สังคมและน้อมนำแนวพระราชดำริมาจัดทำโครงการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ ที่ 1 คณะนิติศาสตร์ให้บริการวิชาการแก่สังคม เป้าประสงค์ ที่ 2 สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่เกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริ ตัวชี้วัด ที่ 1 โครงการให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่น ตัวชี้วัด ที่ 2 มีพื้นที่หรือจำนวนชุมชนเป้าหมายในการให้บริการวิชาการ ตัวชี้วัด ที่ 3 มีการให้ความร่วมมือกับโครงการตามแนวพระราชดำริฯ กลยุทธ์ ที่ 2 ให้บริการวิชาการด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาคตะวันออก กลยุทธ์ ที่ 3 ส่งเสริมโครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่สกอ. ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การบริการวิชาการแก่สังคม

    พื้นที่ดำเนินการ :
    ศาลาอเนกประสงค์ของหมู่บ้านถนนมะกอก ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
    ลักษณะของโครงการ :
    ใหม่
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    อื่นๆ
    รายละเอียด :
    อบรม ประชุมหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จิตอาสา

    งบประมาณ :
    400,000 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    2.1 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาท้องถิ่น 3) โครงการส่งเสริมความรักสามมัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น 300000 บาท 4) โครงการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น 100000 บาท

    วันที่เริ่ม :
    1 ม.ค. 2562
    วันที่สิ้นสุด :
    30 มิ.ย. 2562

    หลักการและเหตุผล :
    จากปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยให้เจ้าของเรือประมงต้องดำเนินการ 12 ข้อให้ครบถ้วน อาทิ ต้องมีทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบอนุญาตการทำประมง ใบอนุญาตนายท้ายเรือ ฯลฯ มิฉะนั้นจะมีความผิดที่มีบทลงโทษรุนแรงตามกฎหมายการประมง ซึ่งบางข้อกำหนดมีความซ้ำซ้อน กับภารกิจของหน่วยงานอื่นและมีบทกำหนดโทษที่รุนแรงเกินควร กล่าวได้ว่า การแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย ภาครัฐได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการทำประมงที่ไม่ถูกต้องที่สั่งสมมาช้านานใน ทุกขั้นตอน สำหรับการดำรงชีวิตและทำมาหากินด้วยการทำประมงชายฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ หรือการทำประมงพื้นบ้านโดยใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อน อาศัยแรงงานในครอบครัว เป็นหลักรวมไปถึง การทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวเป็นหลัก โดยใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และเลือกจับสัตว์น้ำเฉพาะบางอย่าง เช่น แห ลอบ ไซ อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู เป็นต้น ชาวประมงพื้นบ้านเข้าถึงทะเลได้ด้วยพลังการผลิต (Production Force) ที่ต่ำ คือ การสร้างเรือขนาดเล็ก ใช้แรงงานคนไม่มาก และใช้วัสดุในท้องถิ่นที่พอหาได้มาสร้างเป็นเครื่องมือ แต่ผลจากการขยายตัวของเมือง รวมถึงการเพิ่มขึ้น ของประชากร และการจับสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ ได้ส่งผลให้ท้องทะเลที่เคยมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ เริ่มประสบภาวะความเสื่อมโทรมและปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าวเห็นควรจัดกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านให้มีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการธำรงรักษ์วิถีชีวิต การทำประมงพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน

    วัตถุประสงค์ :
    ๒.๑ แนะนําโครงการความร่วมมือด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำการประมงพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กับกรมการประมง กรมเจ้าท่า กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดจันทบุรี ๒.๒ ส่งเสริมระบบการขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านในเขต ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๒.๓ สนับสนุนการธำรงรักษ์วิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้านสร้างความและการตระหนักรู้ด้านการบริหารจัดการการทำประมงพื้นบ้าน และการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    ๙.๑ ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำการประมงพื้นบ้าน ๙.๒ ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน ๙.๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับองค์ความรู้ และมีความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงพื้นบ้าน รวมทั้งการขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการประมงพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน ๙.๔ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ได้ฝึกประสบการณ์ในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายและการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ ๙.๕ บูรณาการงานด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการศึกษาด้านกฎหมายได้

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    ๓.๑ เชิงคุณภาพ (๑) ความพึงพอใจ ๘๐% (๒) ความรู้ความเข้าใจ ๘๐%

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    ๓.๒ เชิงปริมาณ (๑) การอบรม จำนวน ๑ รุ่น มีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ ๑๒๐ คน (๒) กิจกรรมจิตอาสา มีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ ๑๐๐ คน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๒

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    งบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน) รายละเอียดปรากฏตามภาคผนวก

    จุดเด่นของโครงการ :
    การพัฒนาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม

    ประโยชน์ที่ชาวบ้าน/ชุมชน จะได้รับ :
    1. ประชาชนในท้องถิ่นได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้าน และการขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน อันเป็นการส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เข้าใจในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น 2. ประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน 3. ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยการทำกิจกรรมจิตอาสาของคนในชุมชน ร่วมกันปลูกป่าชายเลน อันเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคีในชุมชนและการตระหนักถึงการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลสำเร็จโครงการ :
    บรรลุผลตามเป้าหมาย ร้อยละ 100

    กลุ่มเป้าหมาย :
    ชุมชนในตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 ชุมชน



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 2
    อัปเดทล่าสุด : 2020-03-30 15:14:11
    0 0 อื่นๆ

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ