รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
บริการวิชาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
หน่วยงาน :
สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
นายอรุณ แพทย์โอสถ
มิติของโครงการ :
  • ด้านสังคม
  • แหล่งงบประมาณ :
    มหาวิทยาลัยโดยกองนโยบาย(ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี)
    รายละเอียดงบประมาณ :
    -
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.นายอรุณ แพทย์โอสถ



    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสต์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น) เป้าประสงค์ที่ (1ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการวิจัย การสร้างสรรค์นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) ตัวชี้วัดที่ (3 จำนวนชุมชน/เครือข่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าไปให้ความรู้และร่วมพัฒนาในด้านการวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลยุทธ์ที่ (1บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น)

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสต์ที่ 1 อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานวิถีถิ่น วิถีไทย และบริการวิชาการให้กับชุมชนท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1 อนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานวิถีถิ่น วิถีไทยสู่สากล 2 สร้างคุณค่าศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดที่ 1)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการ 2)เครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม 3) บูรณาการงานวิจัยสู่การบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน 4) ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) จำนวนชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 3 ชุมชน กลยุทธ์ที่ 1) พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของภาคตะวันออก 2) ส่งเสริมการให้บริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน 3) มีความร่วมมือนำผลงานวิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ชุมชน 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

    พื้นที่ดำเนินการ :
    จังหวัดจันทบุรี
    ลักษณะของโครงการ :
    อื่นๆ
    รายละเอียด :
    ใหม่/ต่อเนื่อง
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    อื่นๆ
    รายละเอียด :
    (ประชุมปฏิบัติการ / เสวนา / อบรม / แลกเปลี่ยนเรียนรู้)

    งบประมาณ :
    200,000 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    ตัวอย่าง 4)โครงการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น - งานพิพิธภัณฑ์และบริการวิชาการ

    วันที่เริ่ม :
    1 ต.ค. 2561
    วันที่สิ้นสุด :
    30 ก.ย. 2562

    หลักการและเหตุผล :
    ตามพันธกิจ ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึก และความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย สำนักศิลปวัฒนธรรมฯ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการที่มุ่งเป้าให้เกิดประโยชน์กับชุมชนโดยตรง โดยใช้หลักการบริการและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเน้นแนวทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย ที่มีคุณค่าและสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำนักศิลปวัฒนธรรมฯ จึงได้จัดให้มีโครงการบริการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ให้มีการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

    วัตถุประสงค์ :
    1. เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และสร้างความสามัคคี ให้กับชุมชน โดยอาศัยองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ 2. เพื่อเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชน 3. เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนในด้านของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นที่ยอมรับสู่การนำไปใช้ประโยชน์ 4. เพื่อให้เกิดฐานข้อมูล องค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับใช้ในการสืบค้น และการใช้ประโยชน์อื่นๆ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1. ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีความสามัคคี และสามารถนำองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. มีความร่วมมือในการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชน 3. ชุมชนเห็นความสำคัญถึงคุณค่าในด้านของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับสู่การนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 4. เกิดฐานข้อมูล องค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับใช้ในการสืบค้น และการใช้ประโยชน์อื่นๆ

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    จำนวนชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 3 ชุมชน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    จัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    1. กิจกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชน(ตะปอน-เกวียนหัก) เป็นเงิน 35,000 บาท 2. กิจกรรมพัฒนาศูนย์พัฒนางานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาเซียนฯ เป็นเงิน 130,000 บาท 3. กิจกรรมส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและเผยแพร่วิถีการละเล่นชนควายธนู , ควายเพลิง เป็นเงิน 20,000 บาท 4. กิจกรรมสำรวจข้อมูลวัฒธรรมและภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ของชุมชนชาวชองฯ เป็นเงิน 15,000 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    เน้นการบริการพัฒนาท้องถิ่น ด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

    ประโยชน์ที่ชาวบ้าน/ชุมชน จะได้รับ :
    1. ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และความสามัคคี จากองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ได้นำผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์กับชุมชน 3. สร้างคุณค่าให้กับชุมชนในด้านของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นที่ยอมรับสู่การนำไปใช้ประโยชน์ 4. ชุมชนมีฐานข้อมูล องค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับใช้ในการสืบค้น และการใช้ประโยชน์อื่นๆ

    ผลสำเร็จโครงการ :
    โครงการบรรลุตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ตามตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้

    กลุ่มเป้าหมาย :
    ชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม จำนวน 3 ชุมชน มีผู้เข้าร่วม 986 คน



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 1
    อัปเดทล่าสุด : 2019-12-13 10:00:33
    0 0 ยังไม่ได้ดำเนินการ
    2 ไตรมาสที่ 2
    อัปเดทล่าสุด : 2020-01-06 15:12:55
    1 1 เสร็จสิ้น

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ
    - ไม่พบเอกสาร -


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    - ไม่พบภาพกิจกรรม -