รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินและน้ำใช้ในทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออก
หน่วยงาน :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชีวะ ทัศนา
มิติของโครงการ :
  • ด้านสังคม
  • แหล่งงบประมาณ :
    กรรมการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น/สำนักบริการวิชาการ
    รายละเอียดงบประมาณ :
    -
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการจัดหารายได้
    ค่าลงทะเบียน :
    300 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.ผศ.ดร.ชีวะ ทัศนา


    ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) :
    ยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ 1 ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืนจากการวิจัย การสร้างสรรค์ นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1 จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจากการวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย/จังหวัด กลยุทธ์ 1 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ 1 ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืนจากการวิจัย การสร้างสรรค์ นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1 จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจากการวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย/จังหวัด กลยุทธ์ 1 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ 1 ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืนจากการวิจัย การสร้างสรรค์ นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1 จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจากการวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย/จังหวัด กลยุทธ์ 1 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่3.2จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

    พื้นที่ดำเนินการ :
    ภาคตะวันออก และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
    ลักษณะของโครงการ :
    ใหม่
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    อบรม

    งบประมาณ :
    25,000 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    กรอบการจัดสรรประมาณรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน 2562 หมวดเงิน : 1.งบรายจ่ายอื่น กิจกรรม : 1.1 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาท้องถิ่น 4) โครงการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

    วันที่เริ่ม :
    1 ม.ค. 2563
    วันที่สิ้นสุด :
    31 มี.ค. 2563

    หลักการและเหตุผล :
    ภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ มีผลไม้หลากหลายชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย สละ เงาะ มังคุด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่า เกิดโรคราในผลไม้ได้สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรชาวสวนเป็นจำนวนมาก อาทิ โรคราในสละ โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคราในพริกไทย เป็นต้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเกษตรกรส่วนใหญ่มักนิยมใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการกำจัดโรค แมลงศัตรูพืช ซึ่งอาจส่งผลต่อดินและน้ำ เป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมสภาพเนื่องจากมีสารเคมีตกค้างทั้งในดินและน้ำทำให้ดินและน้ำมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและยังเป็นแหล่งกำเนิดโรคพืชต่างๆ นอกจากนี้ ธาตุอาหารในดินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ แต่โดยทั่วไปดินมักจะมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพืช ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน แต่แน่ใจหรือว่าการใส่ ปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำให้ดินดีขึ้นได้ นอกจากเสียเงินแล้ว ผลผลิตพืชอาจไม่เพิ่มขึ้นเพราะคุณสมบัติดินไม่ได้เปลี่ยนไปในทางที่เหมาะสม ดังนั้นก่อนปรับปรุงหรือบำรุงดินเกษตรกรควรทำความรู้จักสภาพของดินก่อนจึงจะสามารถช่วยให้เลือกใช้ปุ๋ยชนิดและปริมาณ ที่เหมาะสม เป็นการปรับสภาพดินให้ตรงกับปัญหา ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สังกัดวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี พระกอมเกล้าลาดกระบังจึงมีโครงการจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำใช้ทางการเกษตร และจัดโครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการการวิเคราะห์ดินและน้ำในสวนผลไม้ให้แก่เกษตร เพื่อถ่ายทอดเทคนิค วิธีการที่ใช้ในการตรวจวัดธาตุอาหารหลัก (NPK) ในดินและการวัดสภาพความเป็นกรด -ด่างของดินและน้ำเบื้องต้นได้ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับสภาพของดินและน้ำในสวนผลไม้และสามารถลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยต่างๆ

    วัตถุประสงค์ :
    1. เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินและสภาพความเป็นกรด ด่างในดินและน้ำได้ 2. เกษตรกรทราบถึงสภาพของดินในสวนซึ่งจะช่วยสามารถแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของดินได้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1. เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินและสภาพความเป็นกรด ด่างในดินและน้ำได้ 2. เกษตรกรทราบถึงสภาพของดินในสวนซึ่งจะช่วยสามารถแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของดินได้

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    เกษตรกรในเขตภาคตะวันออก จำนวน 100 คน (4 รุ่น รุ่นละ 25 คน กิจกรรมรุ่นละ 1 วัน)

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    มกราคม - มีนาคม 2563

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    งบประมาณในการดำเนินงานทั้งสิ้น 25,000 บาท แบ่งเป็น - ค่าใช้สอย ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการ (100 คน x 1 มื้อ x 150 บาท) 15,000 บาท ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมโครงการ (100 คน x 2 มื้อ x 35 บาท) 7,000 บาท ค่าเอกสารประกอบการอบรม ( 100 ชุด x 30 บาท) 3,000 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    ถ่ายทอดความ เทคนิควิธีการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของดินให้เกาตรกร



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    -ไม่พบข้อมูล-

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ
    - ไม่พบเอกสาร -


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    - ไม่พบภาพกิจกรรม -