รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
โครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
หน่วยงาน :
คณะนิติศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
อ.ชญานาภา ลมัยวงษ์
มิติของโครงการ :
  • ด้านสิ่งแวดล้อม
  • แหล่งงบประมาณ :
    มหาวิทยาลัยโดยกองนโยบาย(ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี)
    รายละเอียดงบประมาณ :
    100000บาท
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.ผศ.ดร.อุลิช ดิษฐปราณีต
    2.อ.ชญานาภา ลมัยวงษ์


    ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) :
    ยุทธศาสต์ที่ 1. การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1. ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัดที่ 3. จำนวนชุมชน/เครือข่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าไปให้ความรู้และร่วมพัฒนาในด้านการบริการวิชาการ ตัวชี้วัดที่ 4. โครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการ การแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 6. จำนวนชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตตามศาสตร์พระราชา กลยุทธ์ที่ 1. บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสต์ที่ 1. การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1. ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัดที่ 3. จำนวนชุมชน/เครือข่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าไปให้ความรู้และร่วมพัฒนาในด้านการบริการวิชาการ ตัวชี้วัดที่ 4. โครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการ การแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 6. จำนวนชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตตามศาสตร์พระราชา กลยุทธ์ที่ 1. บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสต์ที่ 1. บูรณาการงานวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1. ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาทางด้านกฎหมายสู่ความเมแข็ง ยั่งยืน จากการวิจัย การสร้างสรรค์นวัตกรรม การบริการวิชาการ ตัวชี้วัดที่ 3. จำนวนชุมชนที่มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชา กลยุทธ์ที่ 2. ให้บริการวิชาการด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาคตะวันออก

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่3.1 (คณะ) ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

    พื้นที่ดำเนินการ :
    หมู่ 7 บ้านถนนมะกอก ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
    ลักษณะของโครงการ :
    ต่อเนื่อง
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    อบรม

    งบประมาณ :
    100,000 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    11) คณะจัดตั้งตามมติสภามหาวิทยาลัยฯ 100000 บาท

    วันที่เริ่ม :
    3 ธ.ค. 2562
    วันที่สิ้นสุด :
    3 ธ.ค. 2562

    หลักการและเหตุผล :
    ในปัจจุบัน ชุมชนต่างๆ ในเขตตำบลตะกาดเง้ามีการตื่นตัวและมีการขยายตัวของฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยนางรมเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น มีการใช้เสาไฟฟ้าหรือเสาปูน, การเลี้ยงหอยนอกเขตอนุญาต, การเลี้ยงหอยชิดป่าชายเลน, พื้นที่ทับซ้อนกันของเขตการเลี้ยง, การรุกล้ำร่องน้ำและคลองสาธารณะ, หรือมีการผลิตหอยนางรมออกมามากเกินไป เป็นต้น การเพาะเลี้ยงหอยนางรมอาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อระบบนิเวศทางทะเลได้ถ้าไร้การควบคุม ทั้งนี้ มีกฎหมายหลายฉบับออกมาควบคุมในหลายๆ เรื่อง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขและเยียวยาปัญหาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งชาวบ้านของชุมชนต่างๆ ในตำบลตะกาดเง้าส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการเพาะเลี้ยงหอยนางรมอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ในฐานะเป็นองค์กรที่จัดการศึกษาวิชาการด้านกฎหมายและมีพันธกิจในการบริการวิชาการแก่สังคม จึงเห็นควรจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงหอยนางรมได้ และนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง เพื่อการควบคุมการเพาะเลี้ยงหอยนางรมและมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงหอยนางรมให้สามารถอำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอันเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    วัตถุประสงค์ :
    1. เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรของคณะนิติศาสตร์ นำความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายไปบริการแก่ชุมชน 2. เพื่อบูรณาการงานด้านการบริการวิชาการแก่สังคม งานวิจัย และการจัดการศึกษาด้านกฎหมาย 3. เพื่อบริการวิชาการตามพันธกิจของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1. บุคลากรของคณะนิติศาสตร์ สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายไปบริการแก่ชุมชนได้ 2. บูรณาการงานด้านการบริการวิชาการแก่สังคม งานวิจัย และการจัดการศึกษาด้านกฎหมาย 3. สามารถดำเนินการตามพันธกิจของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้เป็นผลสำเร็จ

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    1. ความพึงพอใจ ร้อยละ 80 2. ความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 80

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 60 คน 2. จำนวนชุมชนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 1 ชุมชน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    ธันวาคม 2562

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    100000 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    การอบรมให้ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพของคนในชุมชน

    ประโยชน์ที่ชาวบ้าน/ชุมชน จะได้รับ :
    ชุมชนได้รับความรู้กฎหมายเกี่ยวกับผลกระทบจากการเพาะเลี้ยงหอยนางรมที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

    ผลสำเร็จโครงการ :
    บรรลุผลตามเป้าหมายร้อยละ 100

    กลุ่มเป้าหมาย :
    ชุมชนผู้เพาะเลี้ยงหอยนางรมในตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 ชุมชน


    มี

    ไม่มี

    โปรดระบุวิธีการ


    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 1
    อัปเดทล่าสุด : 2020-04-28 16:31:31
    0 0 เสร็จสิ้น



    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ