รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการสำรวจเพื่อบริหารจัดการ โครงสร้างพื้นฐานระดับตำบล
หน่วยงาน :
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
ผู้ช่วยสาสตราจารย์วิระ ศรีมาลา
มิติของโครงการ :
  • ด้านเศรษฐกิจ
  • ด้านสังคม
  • แหล่งงบประมาณ :
    อื่นๆ (คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ)
    รายละเอียดงบประมาณ :
    งบประมาณแผ่นดิน โครงการพัฒนาบุคลากรของคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.นายอรรณพชัย วรรณเลิศยศ


    ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) :
    ยุทธศาสต์ที่ เป้าประสงค์ที่ ตัวชี้วัดที่ กลยุทธ์ที่

    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ 1. ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการวิจัย การสร้างสรรค์นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 2. จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจากการวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย/จังหวัด

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสตร์ 3. การให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องกาของชุมชนและท้องถิ่น เป้าประสงค์ 1. บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด 2. การบริการวิชาการที่เกิดจากการเรียนการสอนหรือการวิจัย

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่3

    พื้นที่ดำเนินการ :
    ตำบลตกพรม อ.ขลุง
    ลักษณะของโครงการ :
    ต่อเนื่อง
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    ประชุมปฎิบัติการ

    งบประมาณ :
    23,650 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    งบประมาณแผ่นดิน โครงการพัฒนาบุคลากรของคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    วันที่เริ่ม :
    6 ก.พ. 2563
    วันที่สิ้นสุด :
    6 ก.พ. 2563

    หลักการและเหตุผล :
    ในปัจจุบัน หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องทำการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลแผนที่ภาษี รวมทั้งข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนไว้ในฐานข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อความสะดวกในการวางแผนพัฒนา การบริหารจัดการ และข้อมูลนี้ ท้องถิ่นก็จะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนอนุรักษ์และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย จากความสำคัญที่ท้องถิ่นต้องจัดทำข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติ ไว้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและการพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืนและมีความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในด้านระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ สาขาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีความรู้ความถนัดในด้านระบบการสำรวจบันทึกข้อมูลด้านการนำเสนอและแสดงผลข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในรูปของเว็บไซต์และแผนที่ออนไลน์ เพื่อรวมรวบข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่ให้กับหน่วยงานและชุมชนในระดับตำบล โดยกิจกรรมบริการวิชาการส่วนใหญ่ จะเน้นให้ชาวบ้านสามารถสำรวจบันทึกข้อมูลได้ด้วยตัวเองโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ อันประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบ GPS ข้อมูลจากการบินถ่ายภาพทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ อันเป็นเทคโนโลยีใหม่จากงานวิจัยของ คณาจารย์ในสาขาภูมิสารสนเทศ ซึ่งกิจกรรมบริการวิชาการจะเป็นลักษณะอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียนวิชาการสำรวจเบื้องต้น การรังวัดด้วยภาพดิจิทัล ระบบฐานข้อมูล และวิชาการเผยแพร่สารสนเทศผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นพี่เลี้ยงในการอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ตลอดทั้งโครงการ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนสนิทสนมกับชาวบ้านได้ง่ายขึ้นและฝึกให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ในรายวิชาไปใช้ประโยชน์จริง โดยจะจัดให้เป็นคะแนนเก็บในแต่ละรายวิชาที่เกี่ยวข้อง

    วัตถุประสงค์ :
    1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ให้ชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแผนที่สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลที่สำคัญในระดับตำบลได้ 2. จัดทำข้อมูลแผนที่ภาษี และป้ายท่องเที่ยว และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานระดับตำบล เป็นช่องทางให้ชาวบ้านสามารถติดต่อ ปรับปรุงแก้ไข และเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 3. เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น 4. เพื่อเผยแพร่ถ่ายทอดเทคนิคใหม่ๆสำหรับการสำรวจบันทึกข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยของอาจารย์ในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ ให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 5. เพื่อเผยแพร่ถ่ายทอดเทคนิคสำหรับการปรับปรุงแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1. ชุมชนมีฐานข้อมูลแผนที่และข้อมูลประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับวางแผนบริการจัดการข้อมูลที่สำคัญในระดับตำบล เช่น การจัดการจัดเก็บรายได้ จัดการด้านการบริการระบบประปา จัดการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2. มีป้ายท่องเที่ยวในตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานระดับตำบล ในตำบลเป้าหมายทั้งในจังหวัดจันทบุรี 3. นักศึกษาคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้ฝึกใช้ความรู้ที่ได้รับให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 4. คณาจารย์ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยและชาวบ้านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 30 คน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    ค่าใช้สอย - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (50x๗๐) 3,5๐๐ บาท - ค่าอาหารกลางวัน (5๐x150) 7,5๐๐ บาท - ป้ายนิทรรศการ (0.8x1.2 เมตร) 5,000 บาท - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ (1x3 เมตร) 450 บาท ค่าตอบแทน - ค่าวิทยาการ (2x600x6) 7,2๐๐ บาท จำนวนเงิน 23,650 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    สำรวจและจัดทำข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ เป็นการยกระดับการทำงานของหน่วยงานปกครองท้องถิ่นและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 2
    อัปเดทล่าสุด : 2020-04-03 09:07:59
    0 0 ยังไม่ได้ดำเนินการ

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ
    - ไม่พบเอกสาร -


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    - ไม่พบภาพกิจกรรม -