รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
โครงการขับเคลื่อนชุมชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืน
หน่วยงาน :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
อาจารย์ชัชวาลย์ มากสินธ์
มิติของโครงการ :
  • ด้านเศรษฐกิจ
  • แหล่งงบประมาณ :
    มหาวิทยาลัยโดยกองนโยบาย(ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี)
    รายละเอียดงบประมาณ :
    30000
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.นางสาวมัลลิกา ตั้งบุรสุวรรณ


    ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) :
    -

    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1 ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการวิจัย สร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1) งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน 2) จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงาน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจาก การวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย /จังหวัด 3) จำนวนภาคีเครือข่ายของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาคมที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ กลยุทธ์ 1) บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1.ชุมชนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืน จากการวิจัย สร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวชี้วัด 1) งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน 2) จำนวนชุมชน/หมู่บ้าน/หน่วยงาน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการอันเป็นผลจาก การวางแผนพื้นที่ที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายของคณะ 3) จำนวนภาคีเครือข่ายของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาคมที่ร่วมมือกับคณะ ดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ กลยุทธ์ 1) ให้บริการวิชาการโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม เสริมสร้างความเข้มแข็ง หรือบูรณาการกับการเรียน การสอน หรืองานวิจัย 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน 4) ส่งเสริมโครงการตามแนวพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น 5) การวิจัย สร้างองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ชื่อตัวบ่งชี้ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ชื่อตัวบ่งชี้ ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคม ตัวบ่งชี้ 3.2 ชื่อตัวบ่งชี้ จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนา

    พื้นที่ดำเนินการ :
    ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ม.10 ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
    ลักษณะของโครงการ :
    ต่อเนื่อง
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    อื่นๆ
    รายละเอียด :
    ศึกษาดูงาน บริหารจัดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    งบประมาณ :
    30,000 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    งบรายจ่ายอื่น โครงการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

    วันที่เริ่ม :
    23 พ.ย. 2562
    วันที่สิ้นสุด :
    23 พ.ย. 2562

    หลักการและเหตุผล :
    ตามที่สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยกลุ่มนักศึกษา GEN A จิตอาสาพัฒนาชุมชน ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเทศบาลตำบล บ่อพลอย และสภาองค์กรชุมชนบ่อพลอย ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ในการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน ณ หมู่บ้านใหม่พัฒนา หมู่ 10 ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการศึกษาชุมชน และทำเวทีชาวบ้านในระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 10 – 15 ธันวาคม 2561 โดยจากการดำเนินโครงการ ในระยะแรก ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาข้อมูลชุมชน ทำความเข้าใจกับบริบทของชุมชนตนเอง และนำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน จนเกิดแนวทางการพัฒนาร่วมกันของชาวบ้าน ทั้งนี้ มีประเด็นเพื่อการจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนคือ ผู้สูงอายุ และ อาชีพเสริมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้ มีคุณค่าในตนเอง จากนั้นในระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2562 สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้ลงไปสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า ในระดับครัวเรือน และจัดตั้งกลุ่มเห็ดผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้ลงไปติดตามผล ปรากฏว่า เห็ดที่ชาวบ้านได้ทดลองทำ ประสบความสำเร็จออกดอก สร้างรายได้ให้กับระดับครัวเรือน และในระยะที่ 3 ได้ดำเนินการสร้างโรงเห็ดชุมชน และเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเห็ดทับทิมสยาม ซึ่งพบว่ากลุ่มเห็ดทับทิมสยามมีความตื่นตัว และดำเนินกิจกรรมด้วยความเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ประเมินผลโครงการพบว่า การทำเห็ดนางฟ้าของกลุ่มทับทิมสยาม มีผลผลิตไม่มากพอกับความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับ มีปัญหาเชิงเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตเห็ดนางฟ้า และการพัฒนาต่อยอด ขยายผลให้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนใกล้เคียง ด้วยเหตุนี้ ทางคณะผู้ดำเนินโครงการจึงจะเข้าไปดำเนินการในระยะที่ 4 การต่อยอด ขยายผล เสริมพลังกลุ่มเห็ดนางฟ้าผู้สูงวัย ทับทิมสยาม ให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านการผลิตเห็ด และการต่อยอดขยายผล พัฒนาโรงเห็ดสู่การเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น

    วัตถุประสงค์ :
    1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดตั้งกลุ่มและการบริหารกลุ่มเห็ดผู้สูงอายุ 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นโรงเห็ดเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน 3. เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกกลุ่มเห็ดทับทิมสยาม

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1 ผู้สูงอายุในชุมชน ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2 เป็นต้นแบบการจัดการด้านการพัฒนาผู้สูงอายุให้กับชุมชนอื่นๆ 3 หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ นำไปขับเคลื่อนต่อในเชิงนโยบาย

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    1.ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้จริงและนำไปสู่การปฏิบัติเองได้

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 (จากที่กำหนดไว้ 30 คน) 2. เกิดโรงเห็ดชุมชน จำนวน 1 แห่ง เพื่อปฏิบัติการเรียนรู้สำหรับชุมชน 3 เกิดกลุ่มอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม 4. สมาชิกลุ่มเห็ดมีรายได้เสริม เฉลี่ย 300-500 บาท /คน/เดือน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    เป้าหมายเชิงเวลา โครงการต่อเนื่อง ใช้ระเวลาในการขับเคลื่อนโครงการ 4 ปี ปี 2561 ศึกษาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา วางแผนแบบมีส่วยร่วม ปี 2562 ศึกษาดูงาน อบรมให้ความรู้ ทดลองปฏิบัติ ปี 2563 พัฒนาต่อยอด ลงมือทำจริง เห็นผลเกิดประโยชน์ ปี 2564 ขยายผล ต่อยอด พัฒนา

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    รายละเอียดงบประมาณ 30,000 บาท จำแนกดังนี้ 1. หมวดตอบแทน รวม 3,600 บาท 1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร 1 ท่าน จำนวนท่านละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท = 3,600 บาท 2. หมวดใช้สอย รวม 9,500 บาท 2.1 ค่าอาหารว่าง มื้อละ 30 บาท จำนวน 15 คนๆละ 2 มื้อ = 900 บาท 2.2 ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 120 บาท จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อ = 1,800 บาท 2.3 ค่าอาหารเย็น มื้อละ 120 บาท จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อ = 1,800 บาท 2.4 ค่าจ้างทำป้ายความรู้เรื่องเห็ดและการบริหารกลุ่มเห็ด ขนาด 1x2 เมตร 5 ป้ายๆละ 1,000 บาท= 5,000 บาท 3. หมวดวัสดุ 16,900 บาท 3.1 วัสดุการเกษตร สำหรับการผลิตเห็ด 14,000 บาท 3.2 วัสดุอื่นๆในการดำเนินโครงการ 2,900 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    1.ดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาชุมชน จนเกิดผลชัดเชิงประจักษ์ 2.ได้รับรางวัลระดับประเทศ จากสำนักงาน กปร. 3.ขับเคลื่อนด้วยพลังจิตอาสา จนได้รับรางวัลระดับประเทศ 4.โครงการมีการทำอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ชาวบ้านร่วมมืออย่างยิ่ง 5.พื้นที่เป็นชุมชน ที่เกิดจากผลกระทบของอุตสาหกรรมพลอยทับทิบทสยาม



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 1
    อัปเดทล่าสุด : 2020-05-14 13:30:52
    0 0 ยังไม่ได้ดำเนินการ

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ
    - ไม่พบเอกสาร -


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    - ไม่พบภาพกิจกรรม -