รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ :
โครงการทับทิมสยาม สร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สู่ "ความมั่นคง สุขภาพ ความรัก" ด้วยศาสตร์พระราชา
หน่วยงาน :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
อาจารย์ชัชวาลย์ มากสินธ์
มิติของโครงการ :
  • ด้านการศึกษา
  • แหล่งงบประมาณ :
    มหาวิทยาลัยโดยกองนโยบาย(ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี)
    รายละเอียดงบประมาณ :
    33,300
    ลักษณะโครงการ :
    โครงการเพื่อพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยแบบไม่แสวงหาผลกำไร
    ค่าลงทะเบียน :
    0 บาท
    ผลผลิต :
    โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ :
    1.ผศ.ดร.ชูวงศ์ อุบาลี
    2.อ.ชัชวาลย์ มากสินธ์
    3.นางสาวมัลลิกา ตั้งบุรสุวรรณ



    ความสอดคล้องระดับมหาวิทยาลัย :
    ยุทธศาสต์ที่ 1 เป้าประสงค์ที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 3 กลยุทธ์ที่ 1

    ความสอดคล้องระดับความสอดคล้องระดับ คณะ/สำนัก/สถาบัน :
    ยุทธศาสต์ที่ 1 เป้าประสงค์ที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 1 กลยุทธ์ที่ 2

    สนองตอบกลับ ตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัด (การประกันคุณภาพ) :
    สกอ. ตัวบ่งชี้ที่3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

    พื้นที่ดำเนินการ :
    ณ ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ม.10 ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
    ลักษณะของโครงการ :
    ต่อเนื่อง
    ลักษณะการดำเนินงาน :
    สร้างเครือข่าย

    งบประมาณ :
    33,300 บาท
    อ้างอิงถึงกรอบงบประมาณ :
    งบรายจ่ายอื่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาท้องถิ่น 1) โครงการส่งเสริม ความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น จำนวน 100,000 บาท 4) โครงการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ จำนวน 20,000 บาท (ยอด 100,000 บาท)

    วันที่เริ่ม :
    31 ก.ค. 2562
    วันที่สิ้นสุด :
    30 ก.ย. 2562

    หลักการและเหตุผล :
    ในช่วงปี พ.ศ.2510 - 2530 หรือประมาณ 50 ปี ก่อนหน้านี้ พื้นที่บ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อดีตเป็นแหล่งขุดพลอยแดง หรือที่เรียกว่า ทับทิมสยาม ซึ่งนับว่าเป็น King Rudy จึงทำให้พื้นที่ แห่งนี้มีความรุ่งเรือง จนเรียกได้ว่าเป็นยุคตื่นพลอย และมีการหลั่งไหลของผู้คนต่าง เข้ามาขุดหาพลอย จำนวนมาก และเป็นอาชีพที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ชาวจังหวัดตราด จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่คนในพื้นที่บ่อไร่ จะมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ เพื่อหวังร่ำรวยจากการขุดพลอย จนกระทั่งในปี 2540 เป็นช่วยที่การทำเหมืองพลอย ซบเซาลง เนื่องจากพลอยเริ่มหมด เหมืองพลอยถูกปิด สภาพดินเสื่อมโทรม ถูกกัดเซาะพังทลาย ผู้คนที่เคย อพยพเข้ามาขุดพลอย ก็กลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดยุคตื่นพลอยแม้ว่าจะมีการอพยพกลับถิ่นฐานของผู้คน แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเดินทางกลับไปถิ่นฐานของตนเองได้ เนื่องจากไม่มีเงินที่จะกลับไป ต้องตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ที่บ่อไร่ โดยการขอเข้าที่ดินเอกชน และขอซื้อผ่อนที่ดิน สร้างที่อยู่อาศัยและเปลี่ยนมาทำอาชีพรับจ้างสร้างฐานะให้กับตนเองจนเกิดเป็นชุมชนในที่สุด ทีมนักศึกษาจิตอาสาเพื่อการพัฒนาชุมชน GEN A สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานความสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนสืบสานพระราชดำริ ของพื้นที่หมู่บ้านสีลำเทียน(บ้านน้าแดง) ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กับสภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อพลอย จังหวัดตราด จึงได้เกิดเครือข่ายความร่วมมือให้มีการขยายผลการทำงาน เชิงพัฒนามายังพื้นที่ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อไร่ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นชุมชนของชาวบ้านจากแม่สอด จังหวัดตาก ที่เคยอพยพถิ่นฐานเข้ามาทำพลอยในอดีตและเมื่อพลอยหมด ไม่มีเงินที่จะกลับบ้านไปยังถิ่นฐานขจองตจ จึงกลายเป็นชุมชนในที่สุด GEN A ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการศึกษาชุมชน เพื่อทำความเจ้าใจชุมชน ด้วยหลักการ "เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา" มาฝังตัวเรียนรู้วิถีชุมชน และสำรวจข้อมูลชุมชน เมื่อวันที่ 10 - 15 ธันวาคม 2561 ใช้เครื่องมืองาน พัฒนาชุมชน อาทิ แผนที่เดินดิน ปฏิทินอาชีพ ประวัติศาสตร์ชุมชน จนทำให้เราเข้าใจความเป็นชุมชนเพื่อนำไปสู่กระบวนการศึกษาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้จากการลงศึกษาชุมชน เราพบข้อมูลที่น่าสนใจของชุมชน คือ เป็นหมู่บ้านที่มีวัฒนธรรมประเพณีแบบชาวเหนือ ซึ่งวมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักษาความสะอาดชุมชนเป็นอย่างดี ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนี้ เป็นผู้สูงอายุ ที่ไม่มีอาชีพประจำนอกจากรับจ้างทั่วไป ไม่มีรายได้แน่นอน และกลุ่มผู้สูงอายุที่ร่างกายแข็งแรกเท่านั้นที่ยังสามารถออกไป ทำงานรับจ้างภายนอกชุมชนเพื่อหาเงินเลี้ยงดูชีวิตตนเอง ส่วนลูกหลานทำงานนอกพื้นที่ชุมชน ไม่ค่าอยมีเวลามาดูแลบผู้สูงวัย จากการลงพื้นที่เราจะเห็นผู้สูงวัยของชุมชนมานั่งพูดคุยกัน อีทั้งยังไม่มีกิจกรรมการ พัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่เป็นหมู่บ้านสังคมผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้เอง ทีม GEN A จิตอาสาเปลี่ยนแปลงชุมชน ได้มีการทำเวทีชาวบ้านและหารือกับผู้นำชุมชน ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อพลอย ได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน ในมิติการพัฒนาผู้สูงอายุ ให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ มีรายได้ และมีการดูแล สุขภาพ สามารถพัฒนาจนเกิดระบบที่ชุมชนดำเนินการได้เอง และนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด

    วัตถุประสงค์ :
    1.เพื่อรวมกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ และทำอาชีพสร้างรายได้ 2.เพื่อรวมกลุ่มเยาวชนเป็นหมอน้อยอาสา ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
    1.ชุมชนเกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ที่จัดการตนเองได้ 2.ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึั้น 3.ชุมชนได้รับการพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
    เกิดชุมชนเข้มแข็ง ที่มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชา

    เป้าหมายเชิงปริมาณ :
    ผู้สูงอายุ และชาวบ้านในหมู่บ้านพัฒนา จำนวน 30 คน เยาวชนอาสาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน

    เป้าหมายเชิงเวลา :
    เดือนมกราคม - มิถุนายน 2562 กิจกรรมที่ 1 วันที่ 10 - 15 ธันวาคม 2561 กิจกรรมที่ 2 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ 2561

    เป้าหมายเชิงต้นทุน (ให้ระบุรายละเอียดการใช้งบประมาณด้วย) :
    ต้นทุนในการดำเนินโครงการ 120,000 บาท

    จุดเด่นของโครงการ :
    ฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ

    ประโยชน์ที่ชาวบ้าน/ชุมชน จะได้รับ :
    มีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น

    ผลสำเร็จโครงการ :
    รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

    กลุ่มเป้าหมาย :
    ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา



    การรายงานผลความคืบหน้าโครงการ

    ลำดับ ไตรมาสที่ จำนวนพื้นที่ดำเนินการ ผู้ประสานงานโครงการ สถานะโครงการ ตัวเลือก
    1 ไตรมาสที่ 1
    อัปเดทล่าสุด : 2020-01-03 14:29:17
    1 1 กำลังดำเนินการ 90 %

    เอกสาร
    เอกสารของโครงการ
    - ไม่พบเอกสาร -


    ภาพกิจกรรม
    ภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    - ไม่พบภาพกิจกรรม -